การให้วัคซีนในสุนัข



การฉีดวัคซีนในสุนัขนับว่ามีความสำคัญมาก เหตุเพราะโรคต่าง ๆ ที่ต้องฉีดวัคซีน ป้องกันไว้ก่อนนั้น มักจะเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาหรือรักษาให้หายยาก และเป็นโรค ติดต่อที่แพร่กระจายไปยังสุนัขตัวอื่นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สุนัขมีอาการป่วยอย่าง รุนแรง และมีอัตราการตายสูง การฉีดวัคซีนจึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้สุนัขสามารถ ต้านทานต่อการเกิดโรคเหล่านั้นได้ คุณภาพวัคซีนที่ดีสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ สุนัขได้นั้นขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาที่ถูกต้องและการใช้ที่ถูกวิธี ซึ่งสัตวแพทย์จะรู้ดี
ชนิดของวัคซีนที่มีใช้อยู่ในเมืองไทยมีอยู่ 4 ชนิดคือ
1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
2. วัคซีนป้องกันโรค หัดสุนัข ตับอักเสบ และเลปโตสไปโรซีส (รวมเข็มเดียวกัน)
3. วัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
4. วัคซีนรวมโรค คือวัคซีนป้องกันโรค หัดสุนัข ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซีส ลำไส้
อักเสบ และ พาราอินฟลูเอนซ่า รวม 5 โรคอยู่ในเข็มเดียวกัน
หมายเหตุ วัคซีนชนิดที่ 2 และ 3 จะเหมือนกับวัคซีนชนิดที่ 4 แต่ในวัคซีนชนิดที่ 4
มักจะมีเพิ่มวัคซีนป้องกันโรคพาราอินฟลูเอนซ่า เข้าไปด้วยอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึง
เลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น


โปรแกรมการฉีดวัคซีนในสุนัข แบบที่ 1
อายุสุนัข 6 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
อายุสุนัข 8 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดสุนัข ตับอักเสบ และเลปโตสไปโรซีส
อายุสุนัข 10 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบ ซ้ำครั้งที่ 2
อายุสุนัข 12 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรค หัดสุนัข ตับอักเสบ และเลปโตสไปโรซีส ซ้ำครั้งที่ 2
อายุสุนัข 14 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
อายุสุนัข 1 ปี ฉีดวัคซีนซ้ำอย่างละเข็มและฉีดซ้ำ ๆ ทุกปี




โปรแกรมการฉีดวัคซีนในสุนัข แบบที่ 2
อายุสุนัข 1 เดือนครึ่ง ฉีดวัคซีนรวม 5 ชนิด
อายุสุนัข 2 เดือนครึ่ง ฉีดวัคซีนรวม 5 ชนิดครั้งที่ 2
อายุสุนัข 3 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
อายุสุนัข 1 ปี ฉีดวัคซีนอย่างลำเข็มและฉีดซ้ำทุกปี


ข้อควรรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในสุนัข
  • สุนัขที่ฉีดวัคซีนต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และไม่มีพยาธิ
  • ห้ามฉีดวัคซีนในขณะที่สุนัขป่วยโดยเด็ดขาด
  • หลังการฉีดวัคซีนทุกชนิดอย่าอาบน้ำให้สุนัขอย่างน้อย 7 วัน ทั้งนี้เพราะสุนัขอาจจะ
    มีไข้ ไม่สบาย และมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน
  • การฉีดวัคซีนที่ผิดพลาดไปจากโปรแกรม ควรปรึกษาสัตวแพทย์
  • มีสุนัขบางตัวถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบ แต่อาจไม่สร้างภูมิคุ้มกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันได้
    ไม่ดี (พบน้อย)
  • เมื่อมีโรคเกิดขึ้นกับสุนัขตัวหนึ่งตัวใด อย่านำสุนัขตัวอื่นที่เล่นคลุกคลีกับสุนัขป่วย
    ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคนั้น แต่ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์โดยทันที
  • ในบริเวณที่มีการระบาดของโรคอยู่บ่อย ๆ อาจจะฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นกว่าที่กำหนด
    เป็น 3 หรือ4 เข็มก็ได้โดยขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์
  • อย่าเข้าใจผิดว่า หลังการฉีดวัคซีนแล้ว ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นทันทีจะต้องใช้เวลาอย่าง
    น้อย 14 วัน ภูมิคุ้มกันจึงจะเพียงพอต่อการป้องกันโรคได้