ทายนิสัยจากสุนัข
วิธีเลือกอาหารสุนัข
การทำคลอดสุนัข
การให้ยากับสุนัข
การให้วัคซีนสุนัข
โรคและการดูแลรักษา

ความผิดปกติทีมักจะพบได้บ่อยสุนัข
1. ปวดท้อง สุนัขแสดงอาการยืนโก่งตัวชัน หลังงอ ไม่ค่อยเดิน เวลาไปแตะท้องจะสะดุ้ง สาเหตุนั้นมีมากมาย การรักษาก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ควรจะปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะบางครั้งอาจรุนแรงจนกระทั่งถึงตายได้ เช่น สำไส้บิด ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุนี้ สุนัขจะปวดมาก และนอนกลิ้ง และอาเจียนอยู่ตลอด
2. การแท้ง พบได้ไม่บ่อยนัก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือมีการติดเชื้อ บางครั้งอาจมีปัญหาฮอร์โนไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขคือ การตัดมดลูกทิ้ง (การทำหมัน)
3. รอยฟกช้ำ ถ้าเป็นรอยฟกช้ำที่ไม่มีบาดแผล ก็สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน โดยการลอกเอาสะเก็ดแผลเนื้อตายออก แล้วล้างแผลให้สะอาด ฆ่าเชื้อด้วยไฮโดรเย็นเปอร์ออกไซด์ผสมกับน้ำเท่าตัว หลังจากนั้นใส่ยา สมานแผล เช่น ยาม่วง ทำแผลวันละ 2 ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ควรโกนขนรอบปากแผลห่างประมาณ 1 ซม. บาดแผลเหล่านี้ควรเปิดโล่งไม่ควรพันแผลไว้ ถ้าสุนัขเลียแผนก็ไม่ต้องกังวลมาก
4. ฝี มักจะมีอาการปวด ร้อน และบวมบริเวณที่มีการติดเชื้อ สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจจะเกิดจากบาดแผลติดเชื้อหรือรอยเขี้ยวของสุนัข หรือรอยข่วน ตะปูทิ่ม หนามตำ เป็นต้น นอกจากนี้สุนัขที่เป็นฝีมักจะมีไข้สูง วิธีแก้ไข ควรจะรอให้ฝีสุกก่อนโดยใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนเคลื่อนรอบ ๆ ฝี เมื่อฝีสุกก็จะแตกเอง หรืออาจจะนำมาให้สัตวแพทย์ทำการเจาะฝีเพื่อดูดเอาหนองออก แล้วทำความสะอาดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วันติดกัน ถ้าแผลเริ่มติดกัน อาจจำเป็นต้องขยายแผลเพื่อล้างหนออกให้หมดจะได้ไม่เกิดขึ้นอีก ถ้าเป็นฝีแค่ที่เดียวและมีขนาดเล็ก การให้ยาปฏิชีวินะอาจไม่จำเป็น เว้นเสยแต่เป็นหลายที่ สัตวแพทย์จะแนะนำและรักษา ก่อนจะรักษาต้องมั่นใจว่าเป็นฝี มิใช่อวัยวะที่ยื่นออกมา ไส้เลื่อนหรือภาวะเลือดคั่ง
5. ภาวะการแพ้ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
5.1 ภาวะที่เกิดการช็อคและลมพิษ
ท Anaphylactic Shock คือ ภาวะที่เกิดการแพ้อย่างรุนแรง อาจถึงตายเนื่องจากเกิดภาวะระบบทาเกินหายใจและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สาเหตุเกิดจากการที่มนุษย์เข้าไปกวน ถึงแม้ว่าภาวะนี้อาจจะเกิดจากโดนพิษของสัตว์บางชนิด เช่น ผึ้ง, ตัวต่อ ภาวะช็อคนี้จะไปมีผลกับสารคือภูมิแพ้ในร่างกาย (Histamine)
ลักษณะอาการ : คือ เหนื่อยหอบ ท้องเสีย, อาเจียน, ชัก ต่อมาจะเริ่มสลบและตายในที่สุด สิ่งที่สามารถทำให้เกิดภาวะช็อคนี้ได้แก่ ยาเพนนิซิลิน หรือยาปฏิชีวนะกลุ่มอื่น ๆ วัคซีน ยาซึม วิตามิน แม้กระทั่งแพ้อาหารบางชนิด
การรักษา : โดยการฉีดยาแก้แพ้เข้าเส้นโลหิตดำ ดังนั้นต้องนำสุนัขส่งสัตวแพทย์โดยด่วน ระหว่านำส่งควรจะต้องทำให้สุนัขหายใจได้สะดวก โดยการยืดคอสุนัขแล้วดึงลิ้นออกมากันการกัดลิ้น โดยมากพิษของพวกผึ้งหรือต่อแตนไม่ทำให้ถึงตาย
ท Urticaria ลักษณะที่พบคือการบวมตามเยื่อบุอ่อนบริเวณหัวและตามตัว มักจะพบบริเวณ ตา, ปาก และใบหู และมักจะมีขี้ตา สุนัขจะชอบเอาเท้าเกาหรือถูบริเวณปากและตา หรือไม่ก็กลิ้งไปบนพื้น ภาวะผื่นลมพิษนี้มักจะเกิดหลังจากไดรับสารก่อเกิดภูมิแพ้ 15-20 นาที ภาวะนี้ไม่รุนแรงทำให้ถึงตาย โดยมากจะเกิดจากการแพ้อาหารหรือกินอาหารเป็นพิษ แมลงกัดหรือโดนสารเคมี ซึ่งแพ้พิษแมลงจะเป็นไปได้มากกว่า ถึงแม้ว่าภาวะนี้จะไม่รุนแรง แต่ถ้าสุนัขคันและเกามาก ๆ ก็อาจจะเป็นแผลร้ายแรงขึ้นมาได้ จึงต้องรีบนำส่งสัตวแพทย์ทันที ถ้าเป็นไปได้ นำสิ่งที่คิดว่าสุนัขแพ้ไปด้วย
5.2 ภาวะที่กินอาหารในพวกเนื้อ (แพ้เนื้อสัตว์)
6. โลหิตจาง สาเหตุอาจเกิดจากเสียเลือดหรือมีพยาธิมาก เช่น พยาธิปากขอในลูกสุนัข นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากภาวะโรค, ปาราสิต หรือภาวะขาดอาหาร ถ้าเกิดจากเสียเลือด ต้องรีบห้ามเลือดให้เร็วที่สุด แต่ถ้าเกิดจากภาวะติดเชื้อ ต้องรักษาการติดเชื้อก่อน (การเสริมธาตุเหล็กและวิตามินบีลงในอาหารจะสามารถช่วยได้) ภาวะมีปาราสิตก็แก้โดยการถ่ายพยาธิ ถ้าเป็นภาวะขาดสารอาหารเช่น เหล็ก, โคบอลท์หรือวิตามินบี 12 การให้กินตับหรือสาสกัดจากตับจะช่วยได้
7. เนื้องอกที่รอบทวารหนัก (Anal adenoma) มักจะเกิดในสุนัขที่อายุมาก โดยมากมักจะเกิดจากการเลีย วิธีแก้ไขต้องทำการผ่าตัดเอาออก หรือใช้จี้ด้วยความเย็นหรืออาจใช้ฮอร์โมนช่วยระงับการเจริญเติบโตของเนื้องอก
8. คันบริเวณทวารหนัก (Irritation) การรักษาขึ้นกับสาเหตุ อาจเกิดจากพยาธิ หรือต่อมลูกหมากโต ต่อมข้างก้นอักเสบ หรือ anal fissure ท้องเสียหรือสิ่งแปลกปลอมเช่น กระดูก
9. ทวารหนักห้อยยานออกมาข้างนอก (Anal prolapse) มักพบได้ในลูกสุนัข มักเกิดจากการถ่ายบ่อย ๆ หรือเกิดมีพยาธิไส้เดือนจำนวนมาก หรือท้องผูก หรือการให้กินมากเกินไป ลูกสุนัขมักจะเลียทวารหนักที่ทะลักออกมา วิธีแก้ไขโดยนำไปให้สัตวแพทย์ทำการยัดกลับแล้วเย็บปิดช่องนี้
10. All meat syndrome (Nutritional secondary hyper parathyroidism N.S.H.) โรคนี้มักเกิดจากการให้อาหารประเภทเนื้อมากเกินไป (มักพบได้บ่อยในลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่) ทำให้ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ทำให้เสียสมดุลย์ของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในเนื้อสัดส่วน Ca:P = 1:20 ซึ่งสัดส่วนที่ต้องการคือมักพบบ่อยที่ขาหลังและกระดูกเชิงกราน แล้วมักมีผลให้กระดูกเชิงกรานแคบ ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องท้องผูกและการคลอด บางครั้งกระดูดสันหลังก็อาจจะผิดปกติได้ ทำให้ระบบประสาทถูกขัดขวาง การรักษาคือเสริมปริมาณแคลเซียมในอาหารในปริมาณที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการให้อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่มีสมดุลย์ของแคลเซียม และฟอสฟอรัส ให้สุนัขตั้งแต่ยังเล็ก
11. Avascular neerosis of the hip มักพบได้ในพันธุ์ Yorkshire, Highland, Cairn and Jack Russell Terriers, Miniature Poodles, Chihuahaus and Shihtzu โรคนี้จะทำให้เดินขากะเผลกในสุนัขช่วงอายุ 4-9 เดือน ซึ่งอาจเกิดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ข้อสะโพกจะเจ็บปวดมาก แล้วกล้ามเนื้อมักจะลีบ การผ่าตัดจะให้ผลเร็วกว่าการรักษาทางยา
12. Hip dysplasia โรคนี้ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ซึ่งข้อสะโพกนั้นจะไม่พอดีกันกับหัวกระดูก เกิดการเสียดสี เป็นเหตุให้เกิดภาวะข้ออักเสบ สามารถตรวจได้โดยการเอ็กซเรย์ โรคนี้สามารถเกิดได้ในลูกสุนัขที่มีพ่อแม่หรือปู่ย่าที่ไม่เป็น เพราะภาวะนี้สามารถพัฒนาขึ้นได้ มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น Dolden, Labradors, Retriever, Boxers, German Shephereis, German Short-Naited Painter, Dobermans Great Danes and St. Bernards อาจหาได้ในพันธุ์ Greyhound แต่น้อยมาก อย่างไรก็ตามการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ไม่เป็น จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคนี้ได้ อาการลุกจากท่านั่งยาก มักจะก้าวไปมา 2-3 ก้าว เพื่อ warm ข้อสะโพก่อนที่จะเดินปกติ ในที่สุดจะไม่ยอมเดินเมื่ออายุได้ 6-7 เดือนหรือมากกว่านั้น การเอ๊กซเรย์จะยังบอกไม่ได้ว่าสุนัขไม่เป็นโรคนี้จนกว่าจะอายุได้ 12 เดือน การรักษาโดยวิธีการศัลยกรรมซึ่งมีทั้งการตัดกล้ามเนื้อ หรือการตัดหัวกระดูกแต่ถ้าจะบรรเทาอาการเจ็บปวด อาจให้ยาแก้อักเสบและลดปวด การป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่ให้สุนัขที่เป็นโรคนี้ผสมพันธุ์ หรือเป็นพ่อแม่